Home
Blog

ใช้โซดาไฟอย่างไรให้ปลอดภัย

โซดาไฟ หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ เป็นสารประกอบชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นของแข็งสีขาว มีคุณสมบัติเป็นด่างและมี ฤทธิ์กัดกร่อนอย่างรุนแรง สารนี้สามารถดูดซับความชื้นได้ดีและละลายน้ำได้อย่างรวดเร็ว เมื่อละลายในน้ำจะกลายเป็นสารละลายที่มีความเป็นด่างสูง มีลักษณะเป็นเกล็ดใส ๆ หรือเม็ดคล้ายทรายหยาบ และสามารถอยู่ในรูปของผงขุ่น ๆ ได้เช่นกัน โซดาไฟถูกใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมการผลิตสบู่ ผลิตภัณฑ์ซักฟอก การฟอกย้อม และการบำบัดน้ำเสีย

เนื่องจากคุณสมบัติในการทำลายคราบสกปรกและการกัดกร่อนสิ่งสกปรกที่ติดแน่น อีกทั้งโซฟาไฟยังถูกนำมาใช้ในครัวเรือนเพื่อแก้ปัญหาท่อตัน ด้วยการใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นน้ำยาขจัดท่อตันอย่างปลอดภัย การหาซื้อไม่ยากมีได้ทั่วไป ปัจจุบันโซดาไฟที่ใช้ในครัวเรือน สามารถหาซื้อได้ตามซุปเปอร์มาร์เก็ต โดยอยู่ในลักษณะของผงหรือเกล็ด

ในกระบวนการใช้งานโซเดียมไฮดรอกไซด์ จึงต้องให้แน่ใจเรื่องของระบบการระบายอากาศ

การระบายอากาศ

ต้องให้แน่ใจว่ามีการไหลเวียนของอากาศที่ดี โดยเปิดหน้าต่างหรือใช้พัดลมระบายอากาศ เพื่อป้องกันการสะสมของก๊าซพิษ ออกจากห้องน้ำนั้นทันทีเมื่อใส่โซเดียมไฮดรอกไซด์แล้ว และหลีกเลี่ยงการเข้าบริเวณห้องน้ำนั้นอย่างน้อย 30-60 นาที

หลีกเลี่ยงการผสมสารเคมีอื่น ๆ ห้ามใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์หากมีการใช้น้ำยาฟอกขาว แอมโมเนียหรือน้ำยาทำความสะอาดที่มีกำมะถัน ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันเพื่อหลีกเลี่ยงการผลิตก๊าซอันตราย เช่น คลอรีนหรือไฮโดรเจนซัลไฟด์

สวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล

  • ถุงมือ
  • แว่นตานิรภัย
  • ผ้าปิดจมูก หรือหน้ากากกันสารเคมี

อุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอุบัติเหตุ แผลจากการไหม้ด้วยสารเคมีและการระคายเคือง

การใช้งานเพื่อความปลอดภัย

ควรเติมโซเดียมไฮดรอกไซด์อย่างช้าๆ และในปริมาณน้อยเพื่อลดความเสี่ยงจากการกระเด็นและปฏิกิริยาที่อันตราย ใช้น้ำเย็นล้างอย่าใช้น้ำร้อนเพื่อป้องกันปฏิกิริยาที่รุนแรงเกินไป การตอบสนองต่อปฏิกิริยา นั่นคือ หากมีกลิ่นผิดปกติหรือฟองก๊าซปรากฏขึ้น ให้หยุดทันที ระบายอากาศในพื้นที่ และออกจากที่นั้นทันที

การเก็บรักษาและการกำจัด

ควรเก็บโซเดียมไฮดรอกไซด์ในที่เย็นและแห้ง ห่างจากสารเคมีอื่นๆ การเก็บรักษาโซดาไฟที่ใช้ในครัวเรือน ควรเก็บโซดาไฟในภาชนะที่เหมาะสม เช่น ภาชนะพลาสติก เซรามิก หรือแก้ว ที่มีฝาปิดมิดชิด และควรหลีกเลี่ยงการเก็บในที่ที่มีความชื้น เพื่อป้องกันการทำปฏิกิริยากับความชื้น นอกจากนี้ ยังต้องระวังไม่ให้โซดาไฟสัมผัสกับกรดหรือสารที่ติดไฟได้ง่าย

การกำจัดโซดาไฟอย่างปลอดภัย

การกำจัดโซดาไฟที่เหลือใช้นั้นไม่ควรทำอย่างมักง่าย เพราะอาจเกิดอันตรายได้

ข้อควรปฏิบัติในการกำจัดโซดาไฟ
  • แยกขยะสารเคมีออกจากขยะทั่วไป
  • ควรทิ้งโซดาไฟในถุงพลาสติกที่ปิดมิดชิด
  • ติดป้ายแยกว่าขยะนี้เป็นขยะสารเคมี
  • ห้ามทิ้งลงในแม่น้ำหรือพื้นดิน การทิ้งโซดาไฟลงในแม่น้ำหรือพื้นดินอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
  • หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะที่ทำจากโลหะบางชนิด โซดาไฟสามารถทำปฏิกิริยากับโลหะบางชนิด เช่น สังกะสี ดีบุก หรืออลูมิเนียม ทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซึ่งไวไฟและอาจเกิดเพลิงไหม้ได้

การปฐมพยาบาลเมื่อสัมผัสโซดาไฟ

หากเกิดอุบัติเหตุจากการสัมผัสโซดาไฟ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่รุนแรงกว่าเดิม ดังนี้

  • หากโซดาไฟเข้าตา ควรรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้งทันที เพื่อเจือจางสารเคมีและลดการระคายเคือง
  • หากสัมผัสกับผิวหนัง ควรล้างผิวหนังที่สัมผัสด้วยน้ำสะอาดและสบู่โดยด่วน จากนั้นใช้ยาแก้แผลไฟไหม้ทาบริเวณที่ได้รับผลกระทบ
  • หากเข้าปาก ควรใช้น้ำส้มสายชูล้างท้องทันทีเพื่อช่วยลดความเข้มข้นของโซดาไฟ
San Paulo Hua-hin Hospital

Make an appointment
with your doctor today!

ชุดรวมพยาบาล หลายแผนก

Let's us care for you

Our staffs and medical professions from various background and experiences are here to make sure you have the best care while staying with us.

Easy and fast way to contact us online is here. Please fill in this form and we will contact you ASAP to confirm your schedule : )
Or call us 032 532 576