บาดทะยัก โรคอันตรายที่ควรระวัง
บาดทะยัก เกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรียเมื่อเกิดบาดแผล ที่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทภายในร่างกาย ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ขากรรไกร หน้าท้อง แขนขา และมีไข้สูง แม้ว่าในปัจจุบันโรคดังกล่าวจะมีวัคซีนสำหรับป้องกันแล้ว แต่หากชะล่าใจ หรือปล่อยทิ้งไว้ ก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยบทความนี้ โรงพยาบาลซานเปาโลหัวหิน ได้รวบรวมข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับบาดทะยัก โรคอันตรายที่ควรระวัง มาฝากกัน
โรคบาดทะยัก (Tetanus) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Clostridium Tetani ที่สามารถพบได้ในดิน ฝุ่น น้ำลาย และมูลสัตว์ ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดโรคบาดทะยักได้ง่าย โดยการติดเชื้อจะมาจากการสัมผัสสิ่งสกปรกขณะมีแผลเปิด เช่น แผลจากของมีคม แผลถลอก เป็นต้น ที่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทโดยตรง ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณตามร่างกายเกิดหดเกร็ง และอาการอื่น ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็น มีไข้สูง เจ็บปวดบริเวณแผล รู้สึกเหงื่อแตก หายใจลำบาก ฯลฯ มักพบได้มากในกลุ่มผู้สูงอายุ และคนทั่วไป
แผลเปิดแบบไหนสามารถติดเชื้อบาดทะยักได้
- บาดแผลจากของมีคม
- หกล้ม
- โดนทิ่มแทงจากเสี้ยนไม้ หรือตะปูตำ
- สัก หรือเจาะ
- ใช้เข็มฉีดยาไม่สะอาด
- แผลไฟไหม้
- การผ่าตัด จากอุปกรณ์ที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ
- เกิดอุบัติเหตุกระดูกหักออกมานอกผิวหนัง
- เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เป็นแผล
- ฟันผุ
- บาดแผลกระสุจปืน ม ระเบิด ฯลฯ
ลักษณะอาการแบบไหนบ่งชี้ว่า ร่างกายกำลังติดเชื้อ “บาดทะยัก”
สำหรับการติดเชื้อ Clostridium Tetani มักจะมีอาการประมาณ 4 – 21 วันหลังจากการติดเชื้อ หรือโดยทั่วไปเฉลี่ยประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นบาดทะยัก จะมีลักษณะอาการ ดังนี้
- ปวดเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อ เช่น แขน ขา มือ หลัง และเท้า
- กล้ามเนื้อกระตุก
- ขากรรไกรบริเวณปากอ้าลำบาก และมีปัญหาการกลืนอาหาร
- มีไข้ขึ้นสูง ปวดหัว เหงื่อออก หายใจลำบาก
- หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น
- เบื่ออาหาร คลื่นไส้ท้องเสีย
- ความดันโลหิตสูง
- น้ำลายไหล
การรักษาบาดทะยัก
ในการดูแลรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะซักถามประวัติของคนไข้ ว่ามีโรคประจำตัวอะไรบ้าง มีลักษณะอาการอย่างไร หรือมีบาดแผลมาจากสาเหตุใด เพื่อทำการวินิจฉัย และรักษาตามอาการได้อย่างถูกต้อง โดยวิธีการรักษาอาการติดเชื้อบาดทะยัก มีดังนี้
- ให้ยาคลายกล้ามเนื้อ แพทย์จะให้ยาเพื่อลดอาการหดเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อของผู้ป่วย
- ยาปฏิชีวนะ เป็นการนำยาปฏิชีวนะสำหรับการฆ่าเชื้อบริเวณที่เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย และบรรเทาอาการ
- ฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีการสร้างภูมิคุ้มกันเองและบรรเทาอาการปวดเกร็งจากการติดเชื้อ
การป้องกัน และดูแลตัวเองอย่างไรไม่ให้เกิด “บาดทะยัก”
- ระมัดระวังอย่าให้มีบาดแผลสกปรก
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักให้ครบ
- หากมีบาดแผล ควรล้างน้ำสะอาดโดยทันที ไม่ปล่อยให้แผล สัมผัสกับเชื้อโรค
- เช็ดแผลด้วยน้ำเกลือ แอลกอฮอล์ เบตาดีนสำหรับฆ่าเชื้อ
- ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ หรือผ้าก๊อซสะอาด
- หากรู้สึกถึงอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย
คำแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก
- เด็กเล็กก่อนครบอายุ 2 ปีควรฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก คอตีบ ให้ครบ และไอกรนชนิด DTap 4 ครั้ง
- อายุระหว่าง 4-6 ปีฉีดเข็มกระตุ้นโรคบาดทะยัก คอตีบ และไอกรนชนิด Tdap
- อายุระหว่าง 11-12 ปีแนะนำฉีดเข็มกระตุ้นโรคบาดทะยัก คอตีบ และไอกรนชนิด Tdap อีกครั้ง
ทั้งนี้ หลังจากฉีดวัคซีนกระตุ้นเมื่อครบอายุ 12 ปี ควรมาฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก และคอตีบอีกครั้งในทุก ๆ 10 ปี
ติดต่อนัดหมาย
โรงพยาบาลซานเปาโลหัวหิน
แผนกผู้ป่วยนอก
โทร. 032-532576 – 80
Make an appointment
with your doctor today!

Let's us care for you
Our staffs and medical professions from various background and experiences are here to make sure you have the best care while staying with us.