Home
Blog
โรคกระดูกพรุน..รู้ทันป้องกันก่อนสาย

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)

คือ โรคที่ความหนาแน่นและมวลของกระดูกลดน้อยลงจนทำให้กระดูกเสื่อม เปราะบาง ผิดรูป และมีโอกาสแตกหักได้ง่าย ในผู้ป่วยบางรายกระดูกพรุนมีผลทำให้ส่วนสูงลดลง เนื่องจากมวลกระดูกผุกร่อน ผลจากโรคกระดูกพรุนคือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก เนื่องจากกระดูกที่พรุนนั้นรับน้ำหนัก แรงกระแทก หรือแรงกดได้ลดลง

สาเหตุ

โรคกระดูกพรุนส่วนใหญ่เกิดจากการสูญเสียฮอร์โมนเพศหญิงเนื่องจากหมดประจำเดือน โดยพบว่า 25% ของสตรีที่มีอายุมากกว่า 60 ปีจะเป็นโรคกระดูกพรุน รวมถึงสตรีที่หมดประจำเดือนเร็วหรือได้รับการผ่าตัดรังไข่ทิ้งก่อนอายุ 45 ปีก็จะมีความเสี่ยงของการเป็นโรคกระดูกพรุนได้มาก นอกจากนี้ยังพบว่าอายุก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเป็นโรคกระดูกพรุนเช่นกัน โดยประมาณหลังอายุ 50 ปีไปแล้ว กระดูกจะบางลง 1-3% ทุกปี   นอกเหนือจากนี้แล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ เช่น มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน ขาดวิตามินดีหรือแคลเซียม ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำ สูบบุหรี่ น้ำหนักลดอย่างรวดเร็วจากการโหมออกกำลังกายหรืออดอาหาร ใช้ยาสเตียรอยด์เกินขนาด ฮอร์โมนไม่สมดุล เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคตับ โรคระบบทางเดินอาหารผิดปกติ เป็นต้น ในเพศชายก็เป็นโรคกระดูกพรุนได้เช่นกัน แต่พบได้น้อยกว่าเพศหญิง โดยมีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคคือ โรคพิษสุราเรื้อรังและการขาดฮอร์โมนเพศชาย

ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสการเกิดโรคกระดูกพรุน

  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น เมื่ออายุเพิ่มขึ้น มวลกระดูกจะลดลง เป็นผลให้เปราะบางและแตกหักง่ายหากถูกกระทบกระเทือนแม้ไม่รุนแรงก็ตาม
  • การลดระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในเพศหญิงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ส่วนในเพศชายจะมีความเสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุนเมื่อมีการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) น้อยลง
  • กรรมพันธุ์ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
  • ความผิดปกติในการทำงานของต่อมไร้ท่อและอวัยวะต่าง ๆ เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ไตและตับ
  • โรคและการเจ็บป่วย เช่น โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคมะเร็งกระดูก 
  • การบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในการสร้างกระดูก หรือรับประทานอาหารที่ทำให้แคลเซียมเสียสมดุล
  • การใช้ยาบางชนิดที่ออกฤทธิ์เร่งการสลาย หรือรบกวนการสร้างกระดูก เช่น กลุ่มยาสเตียรอยด์

เมื่อเกิดโรคกระดูกพรุน ปัญหาหลักที่มักตามมา คือ ความเจ็บปวดจากภาวะกระดูกทรุดตัวทำให้มีอาการปวดหลัง การเคลื่อนไหวและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันลดลงส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้หากเกิดการกระแทกจะมีโอกาสกระดูกหักสูง โดยเฉพาะการแตกหักบริเวณกระดูกสะโพกจะทำให้ผู้ป่วยเดินไม่ได้ ขยับตัวลำบาก เพราะความเจ็บปวด ต้องนั่งหรือนอนอยู่กับที่ตลอดเวลา ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคและอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงจนอาจเป็นเหตุให้เสียชีวิต เช่น เกิดแผลกดทับหรือโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินปัสสาวะ

การรักษา

เนื่องจากโรคกระดูกพรุนเกิดจากภาวะกระดูกเสื่อมที่มาจากหลายสาเหตุ หลักการรักษาจะกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างกระดูกและลดการทำงานของเซลล์สลายกระดูก มีทั้งการรับประทานยา การฉีดยา และการเพิ่มฮอร์โมน ได้แก่ การรักษาด้วยยา มีทั้งการรับประทานยาและการฉีดยา โดยแบ่งยาเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ยากลุ่มยับยั้งการสลายกระดูก และยากลุ่มกระตุ้นการสร้างกระดูกใหม่

การป้องกัน

  • ออกกำลังกาย
  • รับประทานอาหารให้สมส่วน โดยเฉพาะแคลเซียมและวิตามินดี ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่สำคัญในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ร่างกายจึงควรได้รับแร่ธาตุทั้ง 2 นี้อย่างเหมาะสมตั้งแต่วัยเด็กจนถึงตลอดช่วงอายุเพื่อความแข็งแรงของกระดูก ซึ่งจะสมบูรณ์ที่สุดในช่วงอายุ 20 ปลายๆ หรือ 30 ต้นๆ
  • งดการสูบบุหรี่และจำกัดเครื่องดื่มมึนเมารวมถึงสารคาเฟอีน เนื่องจากมีส่วนทำลายกระดูก
  • ตรวจร่างกายเป็นประจำ โดยเฉพาะในวัยเกิน 50 ปีควรเข้ารับเข้าตรวจวัดมวลกระดูกเพื่อป้องกันการเสื่อมแต่เนิ่นๆ
กรุณาติดต่อนัดหมาย

แผนกผู้ป่วยนอก

โทร.032-532576-80 ต่อ 102

San Paulo Hua-hin Hospital

Make an appointment
with your doctor today!

ชุดรวมพยาบาล หลายแผนก

Let's us care for you

Our staffs and medical professions from various background and experiences are here to make sure you have the best care while staying with us.

Easy and fast way to contact us online is here. Please fill in this form and we will contact you ASAP to confirm your schedule : )
Or call us 032 532 576