Home
Blog
โรคติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจในเด็ก
โรคติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจในเด็ก อาการที่พบ และวิธีป้องกัน รักษา

โรคติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจยอดฮิตในเด็ก

โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ที่พบบ่อย คือ โรคโควิด (Covid-19) ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) และติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) ซึ่งแพร่กระจายเชื้อได้ง่ายโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว เนื่องจากอากาศเปลี่ยนแปลงค่อนข้างบ่อย และมีระดับความชื้นไม่คงที่ ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี เชื้อโรคมักแพร่กระจายผ่านทางละอองฝอย (Droplet) และการสัมผัส (Contact)

กลุ่มเสี่ยง

    เด็กที่ติดเชื้อไวรัสทั้ง 3 ชนิดแล้วอาจจะมีอาการรุนแรงหรือมีภาวะปอดอักเสบ ได้แก่ เด็กอ้วน และเด็กที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง  และเด็กเล็ก (เฉพาะเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่และเชื้ออาร์เอสวี)

อาการ

      เชื้อไวรัสทั้ง 3 ชนิดจะมีอาการคล้ายคลึงกัน คือ อาการไข้  อาการหวัด( น้ำมูก   เจ็บคอ  ไอ) นอกนั้นอาจพบภาวะแทรกซ้อนทางปอด(ปอดอักเสบ)  หรือที่เรียกว่า เชื้อลงปอด มักจะมีการเหนื่อยหอบร่วมด้วย  ภาวะปอดอักเสบพบได้บ่อยในเด็กที่ติดเชื้อ อาร์เอสวี พบได้บ้างในเด็กเล็กที่ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่และพบน้อยในเด็กที่ติดเชื้อโควิด-19  โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน

การวินิจฉัย

       อาศัยการยืนยันจากชุดตรวจซึ่งสามารถตรวจได้ด้วยตัวเอง (self-test) หรือชุดตรวจที่ตรวจที่โรงพยาบาล (Professionaltest) ซึ่งจะเฉพาะเจาะจงและมีความไวในการพบเชื้อมากกว่า

การรักษา

รักษาตามอาการ และตามโรคที่ติดเชื้อ เช่น  ยาต้านไวรัสโควิด-19 และยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่แนะนำโดยเฉพาะในเด็กกลุ่มเสี่ยง  เด็กที่มีภาวะปอดอักเสบบางรายอาจพิจารณาให้ออกซิเจน หรือ สารน้ำทางหลอดเลือด หรือหากมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย แพทย์อาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย

การป้องกัน  

เน้นการล้างมือบ่อยๆ ทั้งลูกน้อย และสมาชิกทุกคนในบ้าน สวมหน้ากากอนามัย  เว้นระยะห่างและการฉีดวัคซีนป้องกัน

วัคซีน

  • วัคซีนโควิด-19ในเด็กนิยมใช้วัคซีนชนิด mRNA ของบริษัทไฟเซอร์ แนะนำในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป  หลังฉีดวัคซีนชุดแรกครบ (3เข็มสำหรับเด็กอายุ 6 เดือน-4ปีและ 2 เข็มสำหรับเด็กอายุ5 ปีขึ้นไป)
  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่แนะนำเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปโดยฉีดทุกปี
  • ส่วนโรค RSV ปัจจุบันยังอยู่ในระยะการวิจัย ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคในประเทศไทย
 
ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงที่เด็กเล็กจะเกิดอันตรายจากไวรัส ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตอาการลูกอย่างใกล้ชิด  หากพบว่ามีความผิดปกติ หรือมีความเสี่ยง ควรรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุ และรับการรักษาโดยเร็ว ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้
ข้อมูลเพิ่มเติม นัดหมายแพทย์ : ติดต่อคลินิกกุมารเวช 032-532 576-80